หลักสูตร

วิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การประมง
(หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2565)

หลักสูตรระดับปริญญาตรี หลักสูตร 4 ปี

ชื่อปริญญาและสาขาวิชา

ชื่อเต็มภาษาไทย:  วิทยาศาสตรบัณฑิต (วิทยาศาสตร์การประมง)
ชื่อเต็มภาษาอังกฤษ:  Bachelor of Science (Fisheries Science)
ชื่อย่อภาษาไทย:  วท.บ. (วิทยาศาสตร์การประมง)
ชื่อย่อภาษาอังกฤษ:  B.Sc. (Fisheries Science)

การรับเข้าศึกษา

รับทั้งนักศึกษาไทยและนักศึกษาต่างชาติ
รอบที่ 1 การรับด้วยแฟ้มสะสมผลงาน (Portfolio)
รอบที่ 2 การรับแบบโควตา (Quata)
รอบที่ 3 การรับตรงร่วมกัน (Admission)
รอบที่ 4 การรับตรงแบบอิสระ (Direct Admission)

เกณฑ์การรับเข้า

เป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย หรือประกาศนียบัตรอื่นที่กระทรวงศึกษาธิการเทียบเท่า

สถานที่จัดการเรียนการสอน

มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตสารสนเทศเพชรบุรี เลขที่ 1 หมู่ที่ 3 ตำบลสามพระยา อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี 76120

ปรัชญาหลักสูตร

มุ่งเน้นผลิตบัณฑิตที่มีความรู้ ความเข้าใจ และทักษะทางด้านการประมง การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ และการจัดการทรัพยากรทางน้ำ สามารถประยุกต์ใช้ในการประกอบอาชีพได้อย่างสร้างสรรค์

วัตถุประสงค์ของหลักสูตร
  1. ผลิตบัณฑิตเพื่อตอบสนองต่อความต้องการกำลังคนของภาคเอกชนและภาครัฐในอุตสาหกรรมการประมงและการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ
  2. ผลิตบัณฑิตด้านการประมงที่มีทักษะผู้ประกอบการยุคใหม่
  3. ผลิตบัณฑิตที่มีความรู้ความเข้าใจต่อบริบท ด้านเศรษฐกิจ สังคม ทรัพยากรธรรมชาติทางน้ำเชิงพื้นที่
  4. ผลิตบัณฑิตที่มีคุณธรรม จริยธรรม มีความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้อย่างสร้างสรรค์
อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังเรียนจบ
  1. นักวิชาการประมงในธุรกิจด้านการประมงในหน่วยงานภาคเอกชน เช่น นักวิชาการฟาร์ม ผู้จัดการฟาร์มเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ เจ้าหน้าที่วางแผนและควบคุมการผลิตสัตว์น้ำ เจ้าหน้าที่ส่งเสริมธุรกิจการประมงและการเกษตร อาหารสัตว์น้ำ เคมีภัณฑ์และอุปกรณ์ต่าง ๆ
  2. พนักงานในส่วนราชการและภาครัฐอื่น ๆ เช่น นักวิชาการประมง นักวิจัย นักวิชาการประจำห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์
  3. นักธุรกิจเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ปลาสวยงาม พรรณไม้น้ำ
  4. ผู้ประกอบอาชีพอิสระและธุรกิจส่วนตัวด้านการประมง เจ้าหน้าที่วางแผนและควบคุมการผลิตสัตว์น้ำ เจ้าหน้าที่ส่งเสริมธุรกิจการประมงและการเกษตร อาหารสัตว์น้ำ เคมีภัณฑ์และอุปกรณ์ต่างๆ
ผลลัพธ์การเรียนรู้ที่คาดหวังหมวดวิชาเฉพาะของหลักสูตรสำหรับการศึกษาทางด้านการประมง
  1. อธิบายหลักการทางวิทยาศาสตร์ที่เป็นความรู้พื้นฐานสำหรับการศึกษาทางด้านการประมง
  2. แสดงวิธีการคำนวณที่เกี่ยวข้องกับการประมง
  3. อธิบายวิธีการเพาะขยายพันธุ์และการเลี้ยงสัตว์น้ำเศรษฐกิจได้อย่างถูกต้อง
  4. อธิบายการจัดการปัจจัยที่สำคัญในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ
  5. ดำเนินการผลิตสัตว์น้ำในรูปแบบของผู้ประกอบการยุคใหม่ได้อย่างสร้างสรรค์
  6. เลือกใช้ความรู้ด้านสังคมศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ และเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อจัดการทรัพยากรชีวภาพและถิ่นที่อยู่อาศัยทางน้ำ
  7. วางแผนและทำการวิจัย เพื่อแก้ปัญหาทางด้านการประมง
  8. ค้นคว้าข้อมูล ติดตามข่าวสาร ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ และภาษาอังกฤษในการสื่อสารด้านการประมง
  9. อธิบายจรรยาบรรณในการประกอบอาชีพ มีความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม และทำงานร่วมกับผู้อื่นได้อย่างสร้างสรรค์
การลงทะเบียนเรียนหลักสูตร

จำนวนหน่วยกิต ตลอดหลักสูตร ไม่น้อยกว่า 131 หน่วยกิต
โดยมีโครงสร้างหลักสูตร คือ

  1. หมวดวิชาศึกษาทั่วไป จำนวนไม่น้อยกว่า 30 หน่วยกิต
  2. หมวดวิชาเฉพาะ จำนวนไม่น้อยกว่า 95 หน่วยกิต
    วิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ 26 หน่วยกิต
    วิชาบังคับ 57 หน่วยกิต
    วิชาเลือก จำนวนไม่น้อยกว่า 12 หน่วยกิต
  3. หมวดวิชาเลือกเสรี จำนวนไม่น้อยกว่า 6 หน่วยกิต
รายวิชาเรียนในชั้นปีที่ 1

ภาคการศึกษาที่ 1

ศิลปะศิลปากร 3(3-0-6)
ภาษาอังกฤษในยุคดิจิทัล 3(2-2-5)
พลเมืองตื่นรู้ 3(3-0-6)
หลักชีววิทยา 3(3-0-6)
ปฏิบัติการชีววิทยา 1(0-3-0)
การประมงยุคปัจจุบัน 2(2-0-4)
วิชาเลือก หมวดวิชาศึกษาทั่วไป 3

ภาคการศึกษาที่ 2

ศิลปากรสร้างสรรค์ 3(3-0-6)
ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารนานาชาติ 3(2-2-5)
ทักษะการสื่อสารอย่างสร้างสรรค์ 3(3-0-6)
ความเป็นผู้ประกอบการที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม 3(3-0-6)
หลักเคมี 3(2-3-4)
ชีววิทยาของปลาและสัตว์น้ำมีกระดูกสันหลัง 3(2-3-4)

รายวิชาเรียนในชั้นปีที่ 2

ภาคการศึกษาที่ 1

นวัตกรรมและการออกแบบ 3(3-0-6)
เคมีอินทรีย์ 3(2-3-4)
คณิตศาสตร์เบื้องต้น 3(3-0-6)
ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารทางการเกษตร 3(2-3-4)
สัตว์น้ำไม่มีกระดูกสันหลัง 3(2-3-4)
วิชาเลือก หมวดวิชาศึกษาทั่วไป 3

ภาคการศึกษาที่ 2

จุลชีววิทยาสำหรับวิทยาศาสตร์การเกษตร 3(3-0-6)
ปฏิบัติการจุลชีววิทยาสำหรับวิทยาศาสตร์การเกษตร 1(0-3-0)
ชีวสถิติเบื้องต้น 3(2-3-4)
ฟิสิกส์พื้นฐาน 3(2-3-4)
นิเวศวิทยาและระบบนิเวศทางน้ำ 3(2-3-4)
หลักการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ 3(3-0-6)
ประสบการณ์วิชาชีพ 1 1(0-3-0)
วิชาเลือกเสรี 3

รายวิชาเรียนในชั้นปีที่ 3

ภาคการศึกษาที่ 1

การเพาะขยายพันธุ์สัตว์น้ำ 3(2-3-4)
เทคโนโลยีการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ 3(2-3-4)
อาหารสัตว์น้ำ 3(2-3-4)
พันธุศาสตร์และการปรับปรุงพันธุ์สัตว์น้ำ 3(2-3-4)
สัมมนา 1(0-2-1)
วิชาเลือกเสรี 3
วิชาเลือก 3

ภาคการศึกษาที่ 2

คุณภาพน้ำสำหรับการประมง 3(2-3-4)
ระเบียบวิธีวิจัยทางการประมง 3(2-3-4)
โรคในสัตว์น้ำเศรษฐกิจ 3(2-3-4)
มลพิษทางน้ำและการจัดการ 3(2-3-4)
การส่งเสริมทางการเกษตรเชิงสร้างสรรค์ 1(0-2-1)
จุลนิพนธ์ 1 1(0-2-1)
วิชาเลือก 3

รายวิชาเรียนในชั้นปีที่ 4

ภาคการศึกษาที่ 1

การเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ทางการประมง 3(2-3-4)
การตลาดเพื่อผู้ประกอบการรายใหม่ 3(3-0-6)
จุลนิพนธ์ 2 2(1-2-3)
ประสบการณ์วิชาชีพ 2 1(0-3-0)
วิชาเลือก 6 หน่วยกิต

ภาคการศึกษาที่ 2

สหกิจศึกษา 6(0-18-0)

วันที่ปรับปรุง 22 กันยายน 2564

ดาวน์โหลดไฟล์

หมายเหตุ : ฝ่ายวิชาการ แจ้งมติที่ประชุมสภามหาวิทยาลัย ครั้งที่ 9/2564 เมื่อวันที่่ 22 กันยายน 2564 ได้อนุมัติแล้วนั้น รายละเอียดหลักสูตร (มคอ.2) สำหรับการเสนอปรับปรุงหลักสูตร วิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การประมง (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2565)  อยู่ระหว่างดำเนินการกรอกข้อมูลการปรับปรุงหลักสูตรลงในระบบ CHECO เพื่อเสนอ สป.อว. รับทราบหลักสูตรต่อไป

ไฟล์ : มคอ.2 ที่ได้รับอนุมัติ จาก สกอ.

ไฟล์ : มคอ.2 ที่ได้รับอนุมัติ จาก สกอ. (ยังไม่มีไฟล์ = เร็วๆ นี้)
ไฟล์ : แผ่นพับสรุป