สหกิจศึกษา

หลักสูตรวิทยาศาสตร์การประมง จัดการศึกษาระบบสหกิจศึกษา เน้นการปฏิบัติงานจริงในสถานประกอบการ (Work-based Learning) อย่างเป็นระบบ โดยความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยกับสถานประกอบการทั้งในประเทศและต่างประเทศ ผู้สำเร็จการศึกษาทุกคนของหลักสูตรฯ จึงมีประสบการณ์จากการปฏิบัติงานจริงในสถานประกอบการแบบเต็มเวลาเสมือนเป็นพนักงานในสถานประกอบการหรือองค์กรนั้น

สถานที่ฝึกสหกิจ เทอมปลาย ปี 2566 ของพี่ ๆ ชั้นปี 4

คณาจารย์ในหลักสูตรวิทยาศาสตร์การประมงได้นิเทศสหกิจศึกษานักศึกษาชั้นปีที่ 4 ทั้งแบบ Online และ Onsite กับสถานประกอบการ

บริษัทสยามโค่ย จำกัด (กรุงเทพฯ),บริษัทเอเชี่ยนฟีด จำกัด (เพชรบุรี), ศูนย์วิจัยและพัฒนาพันธุกรรมสัตว์น้ำเพชรบุรี, บริษัทเจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) (พื้นที่จังหวัดตราด เพชรบุรี และนครปฐม), ศูนย์วิจัยทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งทะเลอันดามันตอนบน (ภูเก็ต), Department of Aquaculture at National Pintung University of Science and technology (NPUST) Taiwan, Aquaculture Zone, Charoen Pokphand Foods Public Company in Philippines

ต้องขอขอบพระคุณสถานประกอบการทุกที่ที่ได้รับนักศึกษาเข้าไปศึกษาเรียนรู้งาน การปฏิบัติงานจริงเป็นระยะเวลา 4 เดือน เป็นการสร้างเสริมประสบการณ์ในการทำงานให้แก่นักศึกษา

Charoen Pokphand Foods (ฟิลิปปินส์)

– ปฏิบัติงานฟาร์มเพาะเลี้ยงกุ้ง การตรวจวัดคุณภาพน้ำ การให้อาหาร การจัดการระบบการเลี้ยง ฯลฯ

Department of Aquaculture in NPUST (ไต้หวัน)

– ภาควิชาเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ National Pingtung University of Science and Technology การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ปฏิบัติการด้านอาหารสัตว์น้ำ ฯลฯ

บริษัทเจริญโภคภัณฑ์ จำกัด มหาชน (ตราด เพชรบุรี และนครปฐม)

-โรงเพาะฟักและอนุบาลลูกกุ้งทะเล เจอาร์ ปฏิบัติงานอนุบาลลูกกุ้ง การเตรียมอาหารธรรมชาติ การฆ่าเชื้อในน้ำ อนุบาลลูกกุ้ง ระบบการจัดการในโรงเพาะฟัก

บริษัทเอเชี่ยนฟีด จำกัด (เพชรบุรี)

-ตรวจวิเคราะห์วัตถุดิบอาหารสัตว์น้ำ มาตรฐานอาหารสัตว์น้ำ ขั้นตอนการผลิตอาหารสัตว์น้ำ

บริษัทสยามโค่ย (กรุงเทพฯ)

-ธุรกิจจำหน่ายปลาสวยงาม การเพาะเลี้ยงปลาสวยงาม การให้อาหาร อุปกรณ์การเลี้ยง และระบบการเลี้ยงปลาสวยงาม

ศูนย์วิจัยและพัฒนาพันธุกรรมสัตว์น้ำเพชรบุรี

-การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ การให้อาหารสัตว์น้ำ การอนุบาลลูกพันธุ์สัตว์น้ำ ระบบการจัดการโรงเพาะฟักและบ่อเลี้ยง

ศูนย์วิจัยทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งทะเลอันดามันตอนบน (ภูเก็ต

-สำรวจ วิจัยความหลากหลายทางชีวภาพ ประเมินสภาวะทรัพยากรและระบบนิเวศทางทะเลและชายฝั่ง อนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรทางทะเล ขยายพันธุ์และอนุรักษ์สัตว์ทะเลที่หายากหรือใกล้สูญพันธุ์ เก็บตัวอย่างทรัพยากรสัตว์น้ำและพืชทะเลเพื่อการเรียนรู้ วิจัย เป็นต้น

สถานที่ฝึกสหกิจหรือสถานประกอบการ เทอมปลาย ปี 2565

กองวิจัยและพัฒนาประมงน้ำจืด กรมประมง

บริษัท สยามโค่ย กรุงเทพฯ

บริษัทเอเซี่ยนฟีด จำกัด จ.เพชรบุรี

ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่งสมุทรสงคราม จ.สมุทรสงคราม

บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) ฟาร์มยี่สาร จ.สมุทรสงคราม

สถานที่ฝึกสหกิจหรือสถานประกอบการ เทอมปลาย ปี 2564

อำไพฟาร์มรีสอร์ท จังหวัดประจวบคีรีขันธ์

อันดามันนางหงษ์ฟาร์มกุ้งระนอง จังหวัดระนอง

สถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล มหาวิทยาลัยบูรพา จังหวัดชลบุรี

ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่งประจวบคีรีขันธ์ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์

มะปรางหางนกยูงฟาร์ม จังหวัดนครปฐม

ฟาร์มเพาะพันธุ์กุ้ง All Shimp (บริษัท ออลชริมพ์ จำกัด) จังหวัดเพชรบุรี

บริษัท ไทยเฉียนหวู่ จำกัด จังหวัดปทุมธานี

บริษัท สยามโค่ย กรุงเทพฯ

สหกิจต่างประเทศ

Southeast Asian Fisheries Development Center: SEAFDEC

NPUST Taiwan

CP Philippines

นิเทศสหกิจศึกษา